ประวัติโรงเรียนช่างถม “ถมนคร” วิทยาลัยศิลปหัตถกรรมนครศรีธรรมราช

พระรัตนธัชมุนี เจ้าคุณม่วง วัดท่าโพธิ์
พระรัตนธัชมุนี เจ้าคุณม่วง วัดท่าโพธิ์

วิทยาลัยศิลปหัตถกรรมนครศรีธรรมราช เดิมชื่อว่า “โรงเรียนช่างถม” ความเป็นมา วิทยาลัยศิลปหัตถกรรมนครศรีธรรมราช เดิมชื่อว่า “โรงเรียนช่างถม”
ได้จัดขึ้นเมื่อ พ.ศ.2456 ที่วัดท่าโพธิ์ อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช
โดยมีท่านเจ้าคุณพระรัตนธัชมุนี (ม่วง รัตนธชเถร) เจ้าอาวาสวัดท่าโพธิ์
ซึ่งในขณะนั้นเป็นเจ้าคณะมณฑลนครศรีธรรมราช เป็นผู้ก่อตั้งโรงเรียนช่างถม
โดยท่านได้มองเห็นความสำคัญของวิชาช่างถมในสมัยนั้นว่า
หากไม่คิดจัดตั้งโรงเรียนวิชาประเภทนี้ขึ้น ต่อไปภายหน้าศิลปะประเภทนี้
อาจจะสูญหายไปจากเมืองนคร ซึ่งเป็นต้นกำเนิดของช่างถมนี้
โดยเฉพาะศิลปะประเภทนี้เคยเจริญรุ่งเรืองมาแล้วในประวัติศาสตร์
สมัยกรุงศรีอยุธยา เจ้าพระยานครทุกยุคทุกสมัย ได้ทำนุบำรุงเอาใจใส่เป็นพิเศษ
จนมีชื่อเสียงและเกียรติประวัติดีเด่นทั้งในประเทศ และต่างประเทศ จนได้
สมญา นามว่า “ถมนคร” ในการดำเนินการนั้นท่านเจ้าคุณพระรัตนธัชมุนี (ม่วง รัตนธชเถร) เป็นผู้อุปถัมภ์มาโดยตลอด ได้จ้างครูมาทำการสอนโดยบริจาคเงิน (นิตยภัต) ของท่านเป็นเงินเดือนครู ต่อมาโรงเรียนช่างถมได้ย้ายสถานที่
และเปลี่ยนชื่อโรงเรียนหลายครั้งด้วยกัน ซึ่งพอสรุปได้ดังนี้

พ.ศ.2456 ชื่อโรงเรียนช่างถม ตั้งอยู่ที่วัดท่าโพธิ์ เปิดสอนวิชาช่างถม หลักสูตร 3 ปี
พ.ศ.2461-2464 ทางราชการได้รวมโรงเรียนช่างถม กับโรงเรียนประจำจังหวัด
(โรงเรียนเบญจมราชูทิศ ซึ่งขณะนั้นตั้งอยู่ที่ วัดท่าโพธิ์เช่นกัน)
พ.ศ.2463 เปลี่ยนชื่อเป็นโรงเรียนปฐมบริบูรณ์ เปิดสอนวิชาช่างถม
พ.ศ.2475 โรงเรียนได้ย้ายมาอยู่หน้าวัดวังตะวันออก ถนนราชดำเนิน เปลี่ยนชื่อเป็น
“โรงเรียนวิสามัญการช่าง” เปิดสอนวิชาช่างถม ช่างไม้ ช่างเย็บเสื้อผ้า
พ.ศ.2482 แผนกช่างไม้ ได้ย้ายไปอยู่ที่ตำบลปากพูน อำเภอเมือง
จังหวัดนครศรีธรรมราช (วิทยาลัยเทคนิคนครศรีธรรมราช) และ
พ.ศ.2482 เช่นกัน แผนกช่างตัดเย็บเสื้อผ้า ก็ได้ย้ายไปอยู่ในบริเวณวัดพระเงิน
ตำบลคลัง อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช
(วิทยาลัยอาชีวศึกษาจังหวัดนครศรีธรรมราช) ส่วนแผนกช่างถมก็ยังคงอยู่ที่เดิม
พ.ศ.2482 เปลี่ยนชื่อเป็น “โรงเรียนช่างโลหะรูปพรรณนครศรีธรรมราช”
ตั้งอยู่หน้าวัดวังตะวันออกเช่นเดิม โดยรับนักเรียนที่สำเร็จชั้นประถมศึกษาปีที่ 4
เข้าเรียน 3 ปี สำเร็จได้วุฒิประโยคมัธยมศึกษาตอนต้น
พ.ศ.2505 เปลี่ยนชื่อเป็น “โรงเรียนศิลป
โดยน้อมนำ พระราชดำรัสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช
ที่ตรัสกับครูใหญ่โรงเรียนศิลปหัตถกรรมนครศรีธรรมราช (นาย จงรักษ์ มณีสุข)
เมื่อครั้งนำผลิตภัณฑ์เครื่องถมไปจัดแสดงในงานสถาปนากรมอาชีวศึกษา
กระทรวงศึกษาธิการ เมื่อ 12 กรกฎาคม 2508 ความว่า
“จงรักษาศิลปะของชาติอันนี้ไว้ให้ดี” เพื่อเป็นสิ่งเตือนใจ เหล่าศิษย์ศิลปหัตถกรรม
รุ่นแล้วรุ่นเล่าให้ตระหนักในบทบาทและหน้าที่ที่จะหัตถกรรมนครศรีธรรมราช”
และเปิดสอนถึงชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ในปี
พ.ศ.2516 ได้ย้ายสถานที่ไปอยู่ ณ สถานที่สร้างใหม่ คือบริเวณวัดหอไตร
ตำบลนา อำเภอเมือง จังหวัดนครศรีธรรมราช (สถานที่ปัจจุบัน)
พ.ศ.2519 (1 ตุลาคม 2519) กระทรวงศึกษาธิการได้รวมโรงเรียนการช่างนครศรีธรรมราช
และโรงเรียนอาชีวศึกษานครศรีธรรมราช และโรงเรียนศิลปหัตถกรรมนครศรีธรรมราช
3 แห่งเข้าด้วยกัน ใช้ชื่อว่า “วิทยาลัยอาชีวศึกษานครศรีธรรมราช” โดยให้
โรงเรียนการช่างนครศรีธรรมราช เป็นวิทยาลัยอาชีวศึกษานครศรีธรรมราช วิทยาเขต 1
โรงเรียนอาชีวศึกษานครศรีธรรมราช เป็นวิทยาลัยอาชีวศึกษานครศรีธรรมราช วิทยาเขต 2
โรงเรียนศิลปหัตถกรรมนครศรีธรรมราช เป็นวิทยาลัยอาชีวศึกษานครศรีธรรมราช วิทยาเขต 3
พ.ศ.2522 (1 มกราคม 2522) กระทรวงศึกษาธิการ ได้ประกาศแยก
วิทยาลัยอาชีวศึกษานครศรีธรรมราช โดยแยก
วิทยาลัยอาชีวศึกษานครศรีธรรมราช วิทยาเขต 1 เป็นวิทยาลัยเทคนิคนครศรีธรรมราช
ส่วนวิทยาเขต 2-3 ยังคงเป็นวิทยาลัยอาชีวศึกษานครศรีธรรมราช
พ.ศ.2523 (1 มกราคม 2523) กระทรวงศึกษาธิการได้ประกาศ
แยกวิทยาลัยอาชีวศึกษานครศรีธรรมราช ออกเป็น 2 วิทยาลัย คือ
วิทยาลัยอาชีวศึกษานครศรีธรรมราช และ วิทยาลัยศิลปหัตถกรรมนครศรีธรรมราช
และตั้งแต่ พ.ศ.2523 เป็นต้นมา วิทยาลัยฯ ได้เป็นที่รู้จักกันแพร่หลาย ในชื่อ
วิทยาลัยศิลปหัตถกรรมนครศรีธรรมราช จนถึงปัจจุบัน