หัวนะโม

หัวนะโม’ ของขลังกันโรคระบาด ของขลังที่ชาวจังหวัดนครศรีธรรมราช รู้จักกันดี

#หัวนะโม ตามตำนานถือเป็นเครื่องรางของขลังที่ชาวจังหวัดนครศรีธรรมราช รู้จักกันดี และมีความเชื่อมายาวนานกว่า 700 ปีแล้ว โดยมีการเล่ากันว่า

ราวก่อนพุทธศตวรรษที่ 18 หัวนะโมคือเม็ดโลหะที่เป็นเบี้ยใช้แทนเงินตราไว้แลกเปลี่ยนสินค้าในอาณาจักรตามพรลิงค์ (นครศรีธรรมราชในปัจจุบัน) และที่เรียกว่า หัวนะโม เนื่องจากมีลักษณะเป็นเม็ดกลม และมีอักษรปัลลวะหรืออักษรอินเดียโบราณจารึกไว้ ในอดีตอาณาจักรตามพรลิงค์ (นครศรีธรรมราชในปัจจุบัน) เกิดโรคห่าหรืออหิวาตกโรค ระบาด พระเจ้าศรีธรรมาโศกราช กษัตริย์แห่งอาณาจักตามพรลิงค์จึงทรงทำพิธีปลุกเสกหัวนะโมขึ้นด้วยพิธีกรรมแบบพราหมณ์

หัวนะโม

โดยอัญเชิญเทพเจ้าทั้งสามคือ พระศิวะ พระวิษณุ และพระพรหม มาสถิตในหัวนะโม เป็นอักขระแทนองค์เทพเจ้าทั้งสามองค์ แล้วนำหัวนะโมไปหว่านไว้รอบเมือง และหว่านสถานที่เกิดโรคระบาด ปรากฏว่าโรคห่าได้หายไปจากอาณาจักรนครศรีธรรมราช

นอกจากนี้ในรัชกาลที่ 4 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ เกิดโรคห่าระบาดขึ้นในเมืองนครศรีธรรมราช พระองค์จึงมีรับสั่งให้สร้างหัวนะโมขึ้น แล้วประจุผงพระพุทธคุณอันวิเศษที่สำเร็จขึ้นจากพระอาจารย์ผู้มีกฤตยาคมสูงลงในหัวนะโมนั้น แล้วทรงโปรดเกล้าฯ ให้นำหัวนะโมไปหว่านโปรยรอบเมืองนครศรีธรรมชาติ ต่อมาโรคห่าก็หาย ทำให้ชาวจังหวัดนครศรีธรรมราช

เชื่อกันว่า “หัวนะโม” คือของมงคลมีความศักดิ์สิทธิ์ที่รู้จักและมีไว้เป็นมงคลประจำตัว เพื่อปัดเป่าสิ่งชั่วร้าย รวมทั้งโรคภัยไข้เจ็บ นอกจากนี้ยังมีความเชื่อกันว่า หัวนะโม มีพุทธคุณครอบจักรวาล คือ ด้านเมตตามหานิยม โชคลาภ และป้องกันภัยแคล้วคลาด และนิยมติดตัวไว้ ปัจจุบันมีการปรับเปลี่ยนหัวนะโม เป็นแหวน สร้อยคอ สร้อยข้อมือ ต่างหู เพื่อง่ายในการสวมใส่

หัวนะโม

สำหรับอักขระ “นะโม” นั้นเป็นอักษรปารวะของอินเดียโบราณเป็นอักขระศักดิ์สิทธิ์แห่งห้วงทะเลใต้ โดยคิดว่า นะโมอาจหมายถึงความนอบน้อม หรือหมายถึงหัวใจของคาถาพุทธศาสนาที่เรากล่าวกันอยู่บ่อยๆ ว่า “นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมา สมฺพุทธสฺส”