ลักษณะเด่นของ “เครื่องถมนคร” ของช่างฝีมือชาวนครศรีธรรมราช สามารถแบ่งออกได้ 2 ลักษณะที่สำคัญ ได้แก่
• การแกะสลักลวดลาย จะใช้วิธีเขียนร่างลวดลายลงในรูปพรรณของเนื้อเงิน แล้วใช้ค้อนและสิ่วสลักตามลวดลายที่ร่างเอาไว้
วิธีการนี้เป็นการย้ำ เนื้อโลหะให้ลึกลงไปเท่านั้น ไม่ได้สูญเสียเนื้อเงินไปแต่อย่างใด และจะมีรอยสลักนูนของผิวโลหะอยู่ทางด้านหลังของรูปพรรณ
ซึ่งจะต้องใช้ฝีมือและความประณีต ของช่างเป็นอย่างมาก เพื่อที่จะให้ผลงานออกมาดีและมีคุณค่า
• เนื้อยาถม เนื้อยาถมที่ดีจะต้องเป็นสีดำ มันวาว เวลาลงเนื้อยาถมจะติดแน่น ไม่มีรูพรุน หรือที่เรียกกันว่า ‘ตามด’
ยาถมเป็นโลหะผสมระหว่างเงิน ทองแดง ตะกั่ว และกำมะถัน ซึ่งเป็นตัวทำให้เกิดสีดำ
สูตรในการผสมยาถมไม่ตายตัว ขึ้นอยู่กับความชำนาญและประสบการณ์ของช่างถมแต่ละคน แม้ว่าจะมีตำรา
ว่าต้องใช้เนื้อโลหะเป็นเท่าไร แต่ก็ไม่แน่เสมอไปว่าเมื่อผสมตามนั้นแล้วจะได้ยาถมที่ดี
ในสมัยรัชกาลที่ 2 ทรง ขอนำสูตรยาถมจากนครศรีธรรมราชไปสอนในโรงเรียนเพาะช่างหรือโรงเรียนหัตถกรรมในสมัยนั้น