จี้เงินนะโม ด้านหลังหลวงปู่ทวด ผ่านการปลุกเสก

หัวนะโม  วัตถุทรงกลม   มีตัวอักษร       กล่าวกันว่าเมื่อครั้งพระเจ้าศรีธรรมาโศกราช ปฐมกษัตริย์แห่งนครศรีธรรมราช    ได้ทรงก่อตั้งเมืองและจัดระบบความเป็นอยู่ของราษฎรแล้ว

 

พระเจ้าศรีธรรมาโศกราช

        จากนั้นไม่นานได้เกิดโรคห่าขึ้น   พระเจ้าศรีธรรมาโศกราช    จึงได้ประชุมปรึกษากับพระมหาเถราจารย์  และพระมหาพรามหมณาจารย์ทั้งหลาย   ซึ่งเห็นพ้องกันว่าควร ให้ทำตรานะโมซึ่งเป็นอักขระที่เปรียบเป็นตัวแทนองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าขึ้นแล้วนำไปประกอบพิธีตามคัมภีร์ไสยเวท  หรือ อาถรรพเวท   จากมีการแบ่งนำไปฝังและไปโปรยตามสถานที่ต่าง ๆ ทั่วเมือง เช่น ประตูเมืองทั้งเก้า  ตามกำแพงเมืองทั้งสี่ทิศ พร้อมกับให้ประพรมน้ำมนต์เพื่อปราบโรคห่า

“แล้วร่ายคาถามหาเวท……………..ปลุกเครื่องวิเศษทุกสิ่งสรรพ์
ว่านยา ผ้าประเจียดมงคลนั้น……….ตะกรรุดโทนน้ำมันอันเรืองฤทธิ์
เดชะพระเวทอันเชี่ยวชาญ………….เครื่องอานกลิ่งได้ดังใครบิด
แล้วตั้งกองอัคคีทั้งสี่ทิศ…………….เอาเครื่องวางกลางมิดในกองไฟ
เปลวลุกคึกคักไม่ขาดสาย………….ชั้นแต่เส้นด้ายหาไหม้ไม่
จึงเอาพระภควัมที่ทำไว้…………….ใส่ขันสำริดประสิทธิมนต์
ในขันนั้นใส่น้ำมันหอม……………….เสกพร้อมเป่าลงไปสามหน
พระนั้งขึ้นได้ในบันดล………………..น้ำมันนั้นทานทนทั้งทุบตี
ล่องหนจังงังกำบังครบ………………อุปเทห์เลห์จบ เป็นถ้วนถี่
ปลุกเครื่องเสร็จพลันอัญชลี………….อ่านมนต์เรียกผีพวกภูติพราย”
    

 

    และหลังจากเสร็จสิ้นพิธีกรรมดังล่าวทั่วพระนครศรีธรรมราชแล้ว   ได้มีการนำเอาตรานะโมที่เหลือออกแจกจ่ายแก่พสกนิกรของพระองค์ทั่วพระนครต่อมา   จนชาวเมืองใกล้ไกลในอาณาจักร 12 นักษัตร บังเกิด ความเชื่อ ยอมรับและยึดเอานะโมเป็นเครื่องรางของขลังศักดิ์สิทธิ์ไว้ใช้ ป้องกันภัยอย่างแพร่หลาย นับจากนั้นมา นะโม ในฐานะที่เป็น ของขลังนี้ ยังพบได้ที่สทิงพระ (เมืองเก่าของจังหวัดสงขลา)พัทลุง ไชยา และกาญจนดิษฐ์ (เมืองเก่าของจังหวัดสุราษฎร์ธานี)   นอกจากนั้นยังพบที่เมืองประวัติศาสตร์อย่างพระนครศรีอยุธยา และพิษณุโลกอีกด้วย แต่อย่างไรก็ตามในปัจจุบัน ผู้นิยมแหวนหัวนะโม เป็นเครื่องรางของขลัง ส่วนใหญ่ยังยึดถือว่าจะให้แท้และดั้งเดิมต้องเป็นนะโมจากนครศรีธรรมราชเท่านั้น

จี้นะโม