หัวนะโม เม็ดเงินนะโม

“หัวนะโม” เม็ดเงินนะโม พุทธคุณครอบจักรวาล เมตตามหานิยม โชคลาภ แคล้วคลาด ปลอดภัย

หัวนะโม ถือเป็นเครื่องรางของขลัง หรือวัตถุมงคลชื้นเอกของนครศรีธรรมราช พุทธคุณครอบจักรวาล เมตตามหานิยม โชคลาภ แคล้วคลาด ปลอดภัยแก่ผู้ที่อาราธนาบูชาติดตัว

หัวนะโม เม็ดเงินนะโม

“หัวนะโม” เป็นเม็ดเงิน หรือโลหะ ซึ่งเป็นของขลัง ที่สร้างในสมัยโบราณ ใช้หว่านตามรั้วมุมกำแพงเมืองเพื่อป้องกันสิ่งไม่ดี ในยุคปัจุบัน มักนำมาทำเป็นเครื่องประดับเพื่อป้องกันและเสริมสิริมงคล

สร้อยข้อมือหัวนะโม

กล่าวกันว่า สมัยพระเจ้าศรีธรรมาโศกราชกษัตรย์ ผู้ทรงสถาปนา อาณาจักรนครศรีธรรมราชขึ้น เมื่อประมาณ ๗๐๐ ปีก่อน และทรงเป็นพระเชษฐาของพระเจ้าจันทรภานุ หรือ องค์ “จตุคามรามเทพ” พระองค์ทรงให้สร้าง หัวนะโม ไว้ด้วยพิธีกรรมอันสูงส่งของพราหมณ์ โดยอัญเชิญเทพเจ้าทั้งสามคือ พระศิวะ พระวิษณุ และพระพรหม มาสถิตในหัวนะโม เป็นอักขระแทนองค์เทพเจ้า ทั้งสามโลก เพื่อเอาไปฝังหว่านรอบ ๆ เมืองนครศรีธรรมราช เพื่อป้องกันโรคห่าระบาด (อหิวาตกโรค) ปรากฏว่าโรคห่าได้หายไปจากอณาจักรนครศรีธรรมราชจนสิ้น…

ต่างหูหัวนะโม หัวนะโม

เล่ากันว่า ในครั้งสมัย พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๔ ) ก็ได้เกิดโรคห่าระบาดขึ้นในเมืองนครศรีธรรมราชอีกครั้ง พระองค์จึงรับสั่งให้สร้าง หัวนะโม ขึ้นแล้วประจุผงพระพุทธคุณอันวิเศษที่สำเร็จขึ้นจากพระอาจารย์ผู้มีกฤตยาคมสูงลงในหัวนะโมนั้น โปรดเกล้าฯ ให้นำหัวนะโมไปหว่านโปรยลงรอบเมืองนครฯ ให้ทั่วหมดสิ้น จากนั้นภายในไม่ช้าโรคห่าหรือโรคอหิวาตกโรคก็สงบลง

หัวนะโม

อักขระ “นะโม” เป็นอักษรปารวะของอินเดียโบราณ ตามหลักฐานทางโบราณคดีก่อนสมัยพระศรีธรรมโศกราช (ราชวงศ์ปัทมวงศ์) คือก่อนพุทธศตวรรษที่ ๑๘
เม็ดโลหะที่เรียกกันว่า “หัวนะโม” อยู่ในฐานะเงินตรา ใช้แลกเปลี่ยนแทนสินค้าในอาณาจักร

ต่อมาสมัยพระเจ้าศรีธรรมโศกราช (พุทธศตวรรษที่ ๑๘) เปลี่ยนฐานะเป็น “เครื่องรางของขลัง” ประกอบพิธีตามคัมภีร์ไสยเวทหรืออาถรรพเวท เพื่อป้องกันภยันตรายทั้งปวงในราชอาณาจักร อักขระนะโม จึงเป็นอักขระศักดิ์สิทธิ์แห่งอาณาจักรทะเลใต้

นะโม อาจหมายถึง “ความนอบน้อม” หรืออาจหมายถึง“หัวใจ” ของคาถาพุทธศาสนาที่ว่า “นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมา สมฺพุทธสฺส”

งานหัวนะโม ปัจจุบัน ยังคงทำตามแบบโบราณ ใช้เงินแท้ในการทำ งานทำมือ แบบช่างสมัยก่อน อักขระนะโม ยังคงคุณค่า เข้มขลัง ยังมีเสน่ห์ งานที่ออกมาแต่ละเม็ดนะโม แต่ละชิ้นงาน จะไม่เหมือน หรือซ้ำกัน