สร้อยข้อมือนะโม ถมทอง

สร้อยข้อมือนะโม ถมทอง งามคลาสสิคตลอดกาล

สร้อยข้อมือ นะโม ถมทอง งานหัตถศิลป์ล้ำค่า สวยไม่เหมือนใคร งามคลาสสิคตลอดกาล สร้อยข้อมือ นะโม ถมทอง วัสดุเป็นเงินแท้ ลงถมดำ นำมาทาด้วยทองคำ ด้วยกรรมวิธีแบบโบราณ ของช่างถมเครื่องถมเมืองนคร ที่สืบทอดมาแต่โบราณ #สร้อยนะโม ตรานะโม

สร้อยข้อมือนะโม ถมทอง

“หัวนอโม” หรือ “หัวนะโม” #วัตถุมงคลศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมือง นครศรีธรรมราช เป็นวัตถุทรงกลมขนาดเล็กสร้างด้วยเนื้อโลหะผสมประเภทสำริด มีตัวอักษรขอมอยู่ตรงกลาง อ่านว่าตัว “นอ “ หรือตัว “นะ “ ด้านหลังจะมีตราสัญาลักษณ์ต่างๆ

“หัวนะโม” พุทธคุณครอบจักรวาล เมตตามหานิยม โชคลาภและแคล้วคลาด

ประวัติความเป็นมาพอสังเขป กล่าวกันว่าสมัยพระเจ้าศรีธรรมาโศกราชกษัตริย์ผู้ทรงสถาปนา อาณาจักรนครศรีธรรมราชขึ้น เมื่อประมาณ 700 ปีก่อน และทรงเป็นพระเชษฐาของพระเจ้าจันทรภานุ หรือ องค์ “จตุคามรามเทพ “ พระองค์ทรงให้สร้างหัวนะโมไว้ด้วยพิธีกรรมอันสูงส่งของพราหมณ์ โดยอัญเชิญเทพเจ้าทั้งสามคือ พระศิวะ พระวิษณุ และพระพรหม มาสถิตในหัวนะโม เป็นอักขระแทนองค์เทพเจ้า ทั้งสามโลก เพื่อเอาไปฝังหว่านรอบๆเมืองนครศรีธรรมราช เพื่อป้องกันโรคห่าระบาด( อหิวาตกโรค ) ปรากฏว่าโรคห่าได้หายไปจากอณาจักรนครศรีธรรมราชจนสิ้น…ปัจจุบันหัวนะโม ถือเป็นเครื่องรางของขลัง หรือวัตถุมงคลชื้นเอกของนครศรีธรรมราช พุทธคุณครอบจักรวาล เมตตามหานิยม โชคลาภ แคล้วคลาด ปลอดภัยแก่ผู้ที่อาราธนาบูชาติดตัว

เล่ากันว่าในครั้งสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว(รัชกาลที่4 ) ก็ได้เกิดโรคห่าระบาดขึ้นในเมืองนครศรีธรรมราชอีกครั้ง พระองค์จึงรับสั่งให้สร้างหัวนะโมขึ้นแล้วประจุผงพระพุทธคุณอันวิเศษที่สำเร็จขึ้นจากพระอาจารย์ผู้มีกฤตยาคมสูงลงในหัวนะโมนั้น โปรดเกล้าฯ ให้นำหัวนะโมไปหว่านโปรยลงรอบเมืองนครฯ ให้ทั่วหมดสิ้น จากนั้นภายในไม่ช้าโรคห่าหรือโรคอหิวาตกโรคก็สงบลง

สร้อยข้อมือนะโม ถมทอง

อักขระ “นะโม” เป็นอักษรปารวะของอินเดียโบราณ ตามหลักฐานทางโบราณคดีก่อนสมัยพระศรีธรรมโศกราช (ราชวงศ์ปัทมวงศ์) คือก่อนพุทธศตวรรษที่ 18 เม็ดโลหะที่เรียกกันว่า “หัวนะโม” อยู่ในฐานะเงินตรา ใช้แลกเปลี่ยนแทนสินค้าในอาณาจักร ต่อมาสมัยพระเจ้าศรีธรรมโศกราช (พุทธศตวรรษที่ 18) เปลี่ยนฐานะเป็น “เครื่องรางของขลัง” ประกอบพิธีตามคัมภีร์ไสยเวทหรืออาถรรพเวทเพื่อป้องกันภยันตรายทั้งปวงในราชอาณาจักร อักขระนะโม จึงเป็นอักขระศักดิ์สิทธิ์แห่งอาณาจักรทะเลใต้ นะโม อาจหมายถึง “ความนอบน้อม” หรืออาจหมายถึง “หัวใจ” ของคาถาพุทธศาสนาที่ว่า “นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมา สมฺพุทธสฺส